Games News

นมพาสเจอร์ไรส์ เอ็มมิลค์ ปรับราคาขึ้น 5 บาท มีผล 1 ส.ค. 66

นมพาสเจอร์ไรส์ เอ็มมิลค์ ปรับราคาขึ้น 5 บาท ในขนาด 2 ลิตร จากเดิม 86 บาทต่อแกลลอน เป็น 91 บาทต่อแกลลอน ตั้งแต่วันที่ 1 ส.ค.2566 เป็นต้นไปคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง อันดับ 1

พาณิชย์ยืนยัน “นมพร้อมดื่ม” ไม่ขาดแคลน วอนห้างเติมชั้นวางสม่ำเสมอ

6 ข้อมูลผิดๆ เกี่ยวกับการดื่มนม ที่ควรเลิกเชื่อได้แล้ว

บริษัทแมรี่ แอน แดรี่ โปรดักส์ จำกัด ส่งหนังสือถึงผู้ประกอบการ มีความจำเป็นปรับราคานมพาสเจอร์ไรส์ รสจืด ขนาด 2 ลิตร จากเดิม 86 บาท/แกลลอน เป็น 91 บาท/แกลลอน ตั้งแต่วันที่ 1 ส.ค.2566 เป็นต้นไป

โดยมี 3 ปัจจัยหลักคือ

1. กิจการฟาร์มโคนมในประเทศลดลง จากปัจจัยต้นทุนที่เพิ่มสูงขึ้น ทั้งอาหาร โคนม เวชภัณฑ์ น้ำมัน ค่าแรงงาน เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง

2. ช่วง Dry-Cow เดือน ก.ค.-ต.ค. ของทุกปี หรือช่วงแม่โคนมพักรีด ปริมาณนมดิบลดลงตามรอบปี

3. กลุ่มสหกรณ์ผู้เลี้ยงโคนมเสนอขอปรับราคาผ่านคระกรรมการโคนมและผลิตภัณฑ์นมแห่งชาติ ที่ปรับเพิ่ม 2.25 บาท/กก.

อย่างไรก็ตาม การปรับขึ้นราคาในครั้งนี้ ยังอยู่ในข้อกำหนดของกรมการค้าภายในที่ ที่กำหนดว่า นมพาสเจอร์ไรส์ รสจืด ขนาด 2 ลิตร ที่ 96.75 บาท

ด้านกระทรวงพาณิชย์ ร้อยตรีจักรา ยอดมณี รองอธิบดีกรมการค้าภายใน ชี้แจงว่าปัจจุบันมี ผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์นมมาขอให้ กรมฯพิจารณาปรับขึ้นราคาผลิตภัณฑ์นมพร้อมดื่มจริง แต่ช่วงสิ้นปี 2565 ที่ผ่านมา เพิ่งอนุมัติขึ้นราคาขายปลีกไปแล้วจากต้นทุนที่เพิ่มขึ้น ดังนั้นขณะนี้จึงยังคงขอความร่วมมือผู้ประกอบการให้คงราคาเดิมไว้

ส่วนกรณีแบรนด์ ผู้ผลิตผลิตภัณฑ์ตรา เอ็มมิลค์ มีการปรับขึ้นราคานั้น ยังอยู่ในระดับเพดานราคาเดิมที่มีการแจ้งไว้กับกรมการค้าภายใน จึงไม่ถือเป็นการปรับขึ้นราคา

นอกจากนี้ ผู้ผลิตส่วนใหญ่ยังยืนยันว่าสามารถผลิตและจำหน่ายได้ตามปกติ ดังนั้น ผลิตภัณฑ์นมพร้อมดื่มจึงไม่ขาดแคลน โดยคาดว่าปริมาณน้ำนมดิบจะกลับสู่ภาวะปกติในช่วงเดือน ต.ค. เช่นเดียวกับปีที่ผ่านๆ มา

ส่วนที่บ้านชลประทานต. กลางดงอ.ปากช่องจ.นครราชสีมา ฟาร์มโคนมนี้เป็นของนายปยุต ศรีเข็มงาม เกษตรกรผู้เลี้ยงโคนม ก่อนหน้านี้เขาเลี้ยงวัวนมมานานกว่า6ปีทั้งหมด 30 กว่าตัว แต่ปัจจุบันนี้เลิกเลี้ยงวัวนมมาแล้ว6เดือน สภาพคอกจึงร้างอย่างที่เห็น

สาเหตุที่เลิกเลี้ยงเพราะต้นทุนอาหารสัตว์ที่ปรับตัวสูงขึ้นต่อเนื่อง เช่น ฟาง ราคาก้อนละ 70-100 บาท จากเดิมเคยอยู่ก้อนละ 30 บาท แต่ราคารับซื้อน้ำนมดิบไม่ปรับขึ้นตามต้นทุน รวมถึงเพื่อนร่วมอาชีพที่เลี้ยงโคนมหลายคนก็เลิกประกอบอาชีพนี้แล้ว เพราะขาดทุนเหมือนกัน

นายปยุต บอกว่า ราคารับซื้อน้ำนมดิบปัจจุบัน อยู่ที่กิโลกรัมละ 19 บาท แต่ต้นทุนอยู่ที่ 20-21 บาท แพงกว่าราคารับซื้อ ดังนั้น ราคารับซื้อน้ำนมดิบควรอยู่ที่ประมาณ 23-25บาทต่อกิโลกรัม จึงจะทำให้เกษตรกรกลับมาประกอบอาชีพ พร้อมระบุว่าการแก้ปัญหาระยะยาวรัฐบาลควรปล่อยให้ราคาน้ำนมดิบเป็นไปตามกลไกตลาด

สำหรับสถานการณ์ขาดแคลนน้ำนมดิบ ที่ผ่านมาเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนม เคยส่งสัญญาณเตือนไปตั้งแต่ปีที่แล้วว่าจะเกิดขึ้น สาเหตุเพราะเกษตรกรขาดทุนต่อเนื่องทำให้ทยอยยกเลิกกิจการ โคนมจึงหายไปจากระบบ ประกอบกับที่ผ่านมามีโรคระบาดลัมปีสกินในโคนม ซึ่งเป็นความเสี่ยงที่เกษตรกรต้องแบกรับเอง

ด้าน ร้านกาแฟต้องใช้นมพาสเจอร์ไรส์เป็นวัตถุดิบหลักได้รับผลกระทบ โดย นางสาวนันทวรรณ์ ต๊ะทอง เจ้าของร้านกาแฟ เดย์ เทรด ในกรุงเทพมหานคร บอกว่า ปัญหานมพาสเจอร์ไรส์ขาดตลาดเกิดขึ้นตั้งแต่ช่วงต้นเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา

โดยปกติทางร้านรับนมมาจากเซลล์ของเมจิ สัปดาห์ละ 2 ครั้ง ในปริมาณครั้งละ 5 แกลลอน ปัจจุบันเหลือเพียง 2-3 แกลลอนเท่านั้น ซึ่งเซลล์แจ้งว่าเป็นเพราะน้ำนมดิบขาดตลาด

ซึ่งในปีที่แล้ว ราคานมพาสเจอร์ไรส์แกลลอนขนาด 2 ลิตรอยู่ที่ 91.50 บาท และขนาด 5 ลิตร 205 บาท และเมื่อต้นปีมีการปรับขึ้นมาเป็น 95 บาท และ 213 บาท

แม้ว่าปัญหานมขาดตลาดครั้งนี้ เมจิจะยังไม่มีการขึ้นราคา แต่ส่วนตัวก็กังวลว่าจะปรับขึ้นราคาในอนาคต เนื่องจากที่ผ่านมา ในทุก ๆ ปีจะมีช่วงที่ประสบปัญหานมขาดตลาดแบบนี้ และสุดท้ายก็จะปรับขึ้นราคา เมื่อขึ้นแล้วโอกาสที่จะลดราคาก็ยาก

เจ้าของร้านยังเผยว่าตั้งแต่ต้นปีร้านต้องแบกรับต้นทุนที่สูงขึ้น ทั้งค่าขนส่ง เมล็ดกาแฟ ค่าไฟ ค่านม ใบชา เป็นต้น ทำให้กำไรลดลงไปถึง 30% เทียบกับปีก่อน ซึ่งไม่สามารถขึ้นราคาสินค้าได้ เพราะลูกค้าส่วนใหญ่เป็นลูกค้าประจำ / เปิดร้านมา 4 ปีไม่เคยขึ้นราคา และช่วงนี้เป็นช่วงที่ต้นทุนสินค้าแพงมากที่สุด และหากต้นทุนนม และวัตถุดิบอื่น ๆ ยังสูงขึ้นต่อไปเรื่อย ๆ ก็ต้องบริหารจัดการ นำสินค้าอื่น ๆ มาวางขาย ราคาอาจจะสูงขึ้นแต่ก็เป็นการเพิ่มทางเลือกให้ลูกค้า หรือในระยะยาวก็อาจต้องพิจารณาปรับขึ้นราคาสินค้า แต่ขอให้เป็นทางเลือกสุดท้าย