นายนิรุฒ มณีพันธ์ ผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เปิดเผยว่า จะเร่งแก้ปัญหาโครงการรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีด) สายแรกของประเทศไทย ตามความร่วมมือระหว่างรัฐบาลไทย-จีน เส้นทางกรุงเทพฯ-หนองคาย ระยะ (เฟส) ที่ 1 กรุงเทพฯ-นครราชสีมา 253 กิโลเมตร (กม.) 14 สัญญา วงเงิน 1.79 แสนล้านบาท ที่ได้ผลงานเพียง 24% ยอมรับว่ามีความล่าช้าโดยจะลงนาม 2 สัญญาที่เหลือ 4-5 ช่วงบ้านโพ-พระแก้ว ระยะทาง 13.3 กม. และสัญญา 4-1 ช่วงบางซื่อ-ดอนเมือง ระยะทาง 15.2 กม. ให้ได้ภายในปีนี้ มิฉะนั้นโครงการฯ จะไม่สามารถก่อสร้างแล้วเสร็จทันปี 2570 ตามแผนงานที่วางไว้
สาเหตุหลักของความล่าช้ามาจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ทำให้เกิดปัญหาอุปสรรคหลายด้าน โดยเฉพาะการขาดแคลนแรงงาน รวมทั้งช่วงแรกยังติดปัญหาการเข้าพื้นที่ก่อสร้างด้วย ขณะนี้เริ่มคลี่คลาย นอกจากต้องเร่งรัดการก่อสร้างงานโยธาที่ฝ่ายไทย โดย รฟท. เป็นผู้ดำเนินการแล้ว ในส่วนของงานสัญญา 2.3 งานระบบราง ระบบไฟฟ้าและเครื่องกล รวมทั้งจัดหาขบวนรถไฟ และจัดฝึกอบรมบุคลากร วงเงินประมาณ 5 หมื่นล้านบาท ดำเนินการโดยฝ่ายจีน ประกอบด้วย บริษัท ไชน่า เรลเวย์ อินเตอร์แนชันนัล (CHINA RAILWAY INTERNATIONAL CO., LTD.) และ บริษัท ไชน่า เรลเวย์ดีไซน์ คอร์เปอเรชัน (CHINA RAILWAY DESIGN CORPORATION) ก็ต้องเร่งดำเนินการหลังจากได้รับผลกระทบจากโควิด-19 ทำให้ภาพรวมของงานล่าช้าเช่นกัน
โดยจีนอยู่ระหว่างออกแบบระบบต่างๆ ทั้งราง ตัวรถ และอาณัติสัญญาณ เน้นด้านระบบไฟฟ้า และระบบเครื่องกลก่อน ขณะนี้ฝ่ายไทย และฝ่ายจีน ร่วมกันตรวจสอบ และปรับแก้อยู่ ส่วนงานขบวนรถไฟจะออกแบบเป็นเรื่องสุดท้าย เบื้องต้นฝ่ายจีนได้นำแบบมาตรฐานของขบวนรถไฟมาให้ฝ่ายไทยพิจารณาแล้ว ฝ่ายไทยขอปรับรายละเอียดภายในตัวรถอีกเล็กน้อย เพื่อให้เหมาะสมกับคนไทย คาดว่าจะแล้วเสร็จภายในปี 2566
“ทีมข่าวนวัตกรรมขนส่งเดลินิวส์” รายงานว่า สำหรับขบวนรถที่จะนำมาใช้คือ “ฟู่ซิงห้าว” รุ่น CR300 รหัสลงท้ายด้วย AF หรือ BF แตกต่างกันไม่มากแค่สีหน้ากากรถ โดย AF เป็นสีแดง ส่วน BF เป็นสีเหลือง รวมทั้งแบบหน้าต่างด้านหน้าที่แตกต่างกันระหว่างโค้งกับเหลี่ยม สมรรถนะของรถเหมือนกัน และเป็นของบริษัทเดียวกันคือ ซีอาร์อาร์ซี (CRRC) แต่ผลิตคนละโรงงานกัน AF ผลิตโดย “ซื่อฟาง” ส่วน BF ผลิตโดย “ชิงเต่า” ทั้ง 2 โรงงานเป็นรัฐวิสาหกิจ ฝ่ายจีนจะประกวดราคาคัดเลือกว่าโรงงานใดจะเป็นผู้ผลิตให้ไทย แต่ไม่ว่าจะได้โรงงานใดผลิต ฝ่ายไทยสามารถกำหนดแบบตามที่ต้องการได้
เบื้องต้นฝ่ายไทยอยากได้สีแดง ซึ่งมีความโมเดิร์น และมีความสวยงาม ส่วนลวดลายข้างขบวนรถไฟนั้น ทางผู้บริหารกระทรวงคมนาคม มีแนวคิดให้จัดประกวดการออกแบบลายข้างรถไฟ เพื่อให้เป็นเอกลักษณ์ของประเทศไทย ทั้งนี้ CR300 ยังเป็นรุ่นที่เดินรถให้บริการในจีน ใช้ความเร็วได้สูงสุด 300 กม.ต่อชั่วโมง (ชม.) แต่วิ่งจริงประมาณ 250 กม.ต่อ ชม. การขับเคลื่อนค่อนข้างนุ่มนวล ไม่สะดุด วางแก้วกาแฟหรือแก้วน้ำไม่หก จีนใช้รุ่น CR300 วิ่งทางตอนใต้เป็นส่วนใหญ่ เพราะระยะห่างของสถานีค่อนข้างใกล้กัน เหมือนสถานีรถไฟไฮสปีดของไทย ที่มี 6 สถานี และมีระยะห่างของสถานีไม่มาก
ขณะที่การวิ่งทางตอนเหนือของจีนระหว่างเมืองใหญ่กับเมืองใหญ่ ใช้รุ่น CR400 ความเร็วสูงสุด 400 กม.ต่อ ชม. แต่วิ่งให้บริการจริงสูงสุด 350 กม.ต่อชม. ยิ่งใช้ความเร็วสูงขึ้น ค่าไฟฟ้ายิ่งแพงขึ้น อย่างไรก็ตามขบวนรถ CR300 ที่จะนำเข้ามาไทยนั้น จะให้บริการที่ความเร็วสูงสุดไม่เกิน 250 กม./ชมคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง. โดยมีทั้งหมด 8 ขบวน 64 ตู้ โดย 1 ขบวน มี 8 ตู้ มีจำนวนที่นั่งประมาณ 560 ที่นั่งต่อขบวน ไม่มีตั๋วยืน โดย 8 ขบวนนี้จะนำไปวิ่งให้บริการ 6 ขบวน และสำรองไว้อีก 2 ขบวน
ตัวรถเป็นรถปรับอากาศขนาดกว้าง 2.8-3.7 เมตร ยาว 20 เมตร สูง 3.7 เมตร แบ่งประเภทที่นั่งเป็น 3 ระดับ ได้แก่ second class จัดเรียงแบบ 3-2 ตลอดความยาวตู้โดยสาร, First class จัดเรียงฝั่งละ 2 ที่นั่ง และ Business class เก้าอี้เดี่ยวฝั่งละ 1 ที่นั่ง ใช้ตู้โดยสารหลังห้องคนขับ ในขบวนรถมีห้องน้ำแบบระบบปิด และสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ
ฟู่ซิ่งห้าว CR300 ยังไม่ตกรุ่น ซีอาร์เพิ่งเปิดตัวประมาณ 5 ปี ก่อนหน้านี้ไทยเลือกใช้รุ่น “เห้อเสี่ยห้าว” เมื่อซีอาร์เปิดตัวรุ่นใหม่ไทยเจรจาขอเปลี่ยนเพราะระยะเวลาบำรุงรักษาและซ่อมแซมดีกว่า เชื่อว่าจะยังไม่มีรุ่นใหม่ออกมา เพราะ “เหอเสียห้าว” วิ่งให้บริการมากว่า 20 ปี ถึงเกิดรุ่นใหม่ และที่สำคัญมาตรฐานของตัวรถที่กำหนดไว้ก็เป็นสมรรถนะหลักๆ ที่จะไม่ค่อยเปลี่ยนกันเมื่อทำรุ่นใหม่ออกมา แต่ในระหว่างนี้หากมีรุ่นใหม่ออกมา ไทยสามารถขยับสมรรถนะบางอย่างได้
ประเทศจีนเป็นต้นแบบที่ดีของไทยในการพัฒนารถไฟไฮสปีด เพราะใช้เวลาไม่ถึง 20 ปีแต่มีไฮสปีดให้บริการทั่วประเทศแล้วถึง 4.2 หมื่น กม. มากที่สุดในโลก ไฮสปีดสายแรกของจีนเริ่มพัฒนาตั้งแต่ปี 2547 ใช้เวลาเพียง 4 ปี เปิดบริการปี 2551 ในการเป็นเจ้าภาพโอลิมปิก “ปักกิ่ง เกมส์ 2008” คำพูดจาก สล็อตเว็บตรง
เมื่อรถไฟไฮสปีดเปิดให้บริการ ทำให้ประชาชนในประเทศจีนได้รับความสะดวกสบายในการเดินทางมากขึ้น เพราะในอดีตหากเดินทางไปต่างจังหวัด ต้องใช้รถไฟธรรมดาหรือรถบัส นอกจากใช้เวลาเดินทางค่อนข้างมากแล้ว การซื้อตั๋วก็ค่อนข้างลำบาก รถไฟไฮสปีดยังช่วยทำให้ตั๋วเครื่องบินถูกลงมากด้วย เป็นคู่แข่งสำคัญของสายการบิน
ทั้งนี้ รฟท. จะยกงานระบบของฝ่ายจีนมาใช้กับไฮสปีดไทย-จีนทั้งหมด รวมถึงระบบจำหน่ายตั๋ว และการเข้าออกชั้นชานชาลา แต่การจำหน่ายตั๋วอาจต้องปรับให้เข้ากับระบบจำหน่ายตั๋วของรถไฟด้วย
สำหรับตั๋วรถไฟไฮสปีดของจีน มีราคาไม่แพงมาก และไม่ค่อยปรับขึ้นราคา เพราะรัฐบาลอยากให้ประชาชนนั่งรถไฟไฮสปีด อาทิ เส้นทาง ปักกิ่ง-เทียนจิน ระยะทาง 113 กม. หรือประมาณกรุงเทพฯ-สระบุรี ใช้เวลาเดินทางไม่เกิน 30 นาที หากนั่งรถไฟ หรือรถบัส 1.30-2 ชม. ออกทุก 15 นาที second class ราคาตั๋ว 55 หยวน (275 บาท), First class 94 หยวน (470 บาท) และ Business class 190 หยวน (950 บาท) ช่วงฤดูกาลท่องเที่ยว (ไฮซีซั่น) ต้องจองล่วงหน้า 7-10 วัน โลว์ซีซั่น จองล่วงหน้า 1 วัน เทียบค่าโดยสารรถไฟไฮสปีดไทยคิดที่อัตรา 80 บาท บวก1.8 บาท/กม. เช่น กรุงเทพฯ-สระบุรี 278 บาท กรุงเทพฯ-ปากช่อง 393 บาท กรุงเทพ-นครราชสีมา 535 บาท ถือว่าใกล้เคียงกัน
ครบ 6 ปี ของการก่อสร้างที่เริ่มมาตั้งแต่ปี 2560….จนต้องปรับแผนเปิดบริการจากปี 2566 เป็น 2570 อีก 4 ปี เป็นห้วงเวลาความท้าทายของ รฟท. ที่จะทำให้คนไทยได้ใช้รถไฟไฮสปีดสายแรก ให้สมกับ 10 ปีที่รอคอย.